ปรัชญาสถาบันพระบรมราชชนก
" สถาบันพระบรมราชชนกมีปรัชญาการศึกษาที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้มีคุณธรรมตามพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก “ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” และมีอัตลักษณ์คุณธรรมตามที่สถาบันกำหนด “วินัย หน้าที่ สามัคคี เสียสละ สัจจะ กตเวที” มีความรอบรู้ มีภูมิปัญญาในสาขาวิชาชีพ และมีสมรรถนะที่จำเป็นที่จะนำไปปรับใช้ในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและวิกฤติที่เกิดขึ้น ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายทั้งในและนอกชั้นเรียน รวมทั้งการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริง ผ่านกระบวนการคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหา และค้นคว้าด้วยตนเอง โดยมีผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการจัดการเรียนรู้ ซึ่งจะนำไปสู่การเป็นบัณฑิตที่ใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิต และสามารถเป็นที่พึ่งด้านสุขภาพแก่ชุมชน"

 
ข้อมูลทั่วไป

1.1 ชื่อหลักสูตร
      รหัสหลักสูตร : T20192125107702
      ภาษาไทย : หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต
      ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Nursing Science Program


1.2 ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
      ชื่อเต็ม : พยาบาลศาสตรบัณฑิต
      ชื่อย่อ : พย.บ.
      ชื่อเต็ม : Bachelor of Nursing Science
      ชื่อย่อ : B.N.S.

1.3 วิชาเอก : ไม่มี
1.4 จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร : 124 หน่วยกิต

1.5 รูปแบบของหลักสูตร
      1.5.1 รูปแบบ หลักสูตรระดับปริญญาตรีหลักสูตร 4 ปี ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี
พ.ศ. 2558 มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ พ.ศ. 2560 ข้อบังคับสภาการพยาบาลว่าด้วยการให้ความเห็นชอบหลักสูตรการศึกษาวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ระดับวิชาชีพ พ.ศ. 2563
     1.5.2 ประเภทของหลักสูตร หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพ
     1.5.3 ภาษาที่ใช้ ภาษาไทย
     1.5.4 การรับเข้าศึกษา รับนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติที่สามารถใช้ภาษาไทยในการฟัง พูด อ่าน เขียนได้
     1.5.5 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น ไม่มี เป็นหลักสูตรเฉพาะของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี แพร่ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
     1.5.6 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ให้ปริญญาพยาบาลศาสตรบัณฑิตเพียงสาขาวิชาเดียว


1.6 สถานที่จัดการเรียนการสอน
     1.6.1 การจัดการเรียนการสอนภาคทฤษฎี ภาคทดลอง ในห้องเรียน ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา ห้องปฏิบัติการพยาบาลหรือห้องปฏิบัติการเสมือนจริง และแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ หรือสถานการณ์จริงในชุมชน โรงเรียน และสถานบริการสุขภาพทุกระดับ
    1.6.2 การจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติทางการพยาบาลในชุมชน โรงเรียน และสถานบริการสุขภาพทุกระดับคือ ระดับปฐมภูมิ ได้แก่ ศูนย์สุขภาพชุมชน ศูนย์บริการสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ระดับทุติยภูมิ ได้แก่ โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไป ระดับตติยภูมิ (บางสาขา) ได้แก่ โรงพยาบาลทั่วไปทั้งในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และในสังกัดหน่วยงานอื่น แหล่งฝึกจะต้องได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพ

1.7  สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร: สถานภาพของหลักสูตร

          สถานภาพหลักสูตร

          –  หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) โดยปรับปรุงจากหลักสูตรพยาบาล ศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563) เปิดสอน ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2565 เป็นต้นไป มีขั้นตอนการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร ดังนี้

การพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร

          1.7.1 คณะกรรมการบริหารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี แพร่ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก พิจารณาเห็นชอบหลักสูตร ในการประชุม ครั้งที่ 4/2564 เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2564

         1.7.2  คณะกรรมการกลั่นกรอง คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก พิจารณากลั่นกรองหลักสูตร
ในการประชุม เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2564

        1.7.3  คณะกรรมการบริหารจัดการคณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก พิจารณาเห็นชอบหลักสูตร ในการประชุม ครั้งที่ 6/2564 เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2564

        1.7.4  สภาวิชาการสถาบันพระบรมราชชนกพิจารณาให้ความเห็นชอบหลักสูตร ในการประชุม ครั้งที่ 8/2564 เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2564

       1.7.5 สภาการพยาบาลเห็นชอบหลักสูตร ในการประชุมครั้งที่ 5/2565 เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2565

       1.7.6 สภาสถาบันพระบรมราชชนกอนุมัติหลักสูตร ในการประชุมครั้งที่2 /2565 เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2565

 

1.8 ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน :

มีความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน ในปีการศึกษา 2567 (หลังเปิดสอน 2 ปี) ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552


1.9 อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา :

          1.9.1  ประกอบวิชาชีพพยาบาลในสถานบริการสุขภาพทุกระดับ (ปฐมภูมิ ทุติยภูมิ ตติยภูมิ)

          1.9.2  ประกอบวิชาชีพพยาบาลประจำโรงเรียน/โรงงาน/สถานประกอบการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ

         1.9.3  ประกอบอาชีพอิสระด้านการพยาบาลและการผดุงครรภ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ หรือสาขาอื่นๆ

 

1.10 ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง (Program Learning Outcomes: PLOs)
เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนผู้เรียนสามารถ:

       1.10.1 ประยุกต์ความรู้ทางการพยาบาล การผดุงครรภ์และบูรณาการศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในการ
ให้บริการสุขภาพทุกช่วงวัย ในภาวะปกติและเจ็บป่วย

       1.10.2 ปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์แบบองค์รวมด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์โดยใช้
กระบวนการพยาบาล บนหลักฐานเชิงประจักษ์ คำนึงถึงความปลอดภัย การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
ความหลากหลายทางวัฒนธรรมภายใต้กฎหมายและจรรยาบรรณวิชาชีพ

       1.10.3 แสดงออกถึงพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ เจตคติที่ดีต่อวิชาชีพและ
ปกป้องสิทธิของผู้รับบริการ

       1.10.4 แสดงออกถึงทักษะการคิดขั้นสูง ในการตัดสินใจแก้ปัญหา การคิดอย่างมีวิจารณญาณและ
สร้างสรรค์

       1.10.5 ประยุกต์ความรู้ระเบียบวิธีวิจัยในการปฏิบัติการพยาบาล การผดุงครรภ์ และร่วมออกแบบ
หรือพัฒนานวัตกรรมการดูแลสุขภาพ

       1.10.6 แสดงออกถึงการมีภาวะผู้นำ และสามารถบริหารจัดการสุขภาวะชุมชน

       1.10.7 ใช้ภาษาในการสื่อสารได้อย่างเหมาะสมและเป็นสากล

       1.10.8 ใช้สื่อสารสนเทศและเทคโนโลยีดิจิทัล ที่เหมาะสมในการเรียนรู้และปฏิบัติการพยาบาลและ
การผดุงครรภ์

       1.10.9 แสดงออกถึงการมีทักษะชีวิต โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาตนเอง วิชาชีพ
และสังคม

       1.10.10 ประยุกต์แนวคิดการเป็นผู้ประกอบการด้านสุขภาพในการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม

 

โครงสร้างหลักสูตร
หลักสูตร : พยาบาลศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2565
ระดับการศึกษา : ปริญญาตรี
จำนวนหน่วยกิตที่เรียน : 124 หลักสูตร : 4 ปี จำนวนปีที่ศึกษาสูงสุด : 8 ปี
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป , จำนวน 30 หน่วยกิต
รหัสวิชา รายวิชา หน่วยกิต
GE 101 ภาษาไทยเชิงวิชาการ 3(2-2-5)
GE 102 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 3(2-2-5)
GE 103 ภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ 3(2-2-5)
GE 104 ภาษาอังกฤษเพื่อการอ่านและการเขียนเชิงวิชาการ 3(2-2-5)
GE 105 ภาษาอังกฤษก้าวหน้า 3(2-2-5)
GE 201 เราคือ สบช. 3(2-2-5)
GE 209 พลเมืองวิวัฒน์ 3(2-2-5)
GE 301 ผู้ประกอบการในยุคดิจิทัล 3(2-2-5)
GE 302 การรู้ดิจิทัล 3(2-2-5)
GE 305 วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน 3(3-0-6)
2. หมวดวิชาเฉพาะ , จำนวน 88 หน่วยกิต
รหัสวิชา รายวิชา หน่วยกิต
0130300101 จุลชีววิทยาและปรสิตวิทยา 2(2-0-4)
0130300102 กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา 3(2-2-5)
013000103 ชีวเคมีและโภชนศาสตร์ 3(3-0-6)
0130300104 จิตวิทยาพัฒนาการและกระบวนการคิด 2(1-2-3)
0130300205 เภสัชวิทยา 2(2-0-4)
0130300206 พยาธิสรีรวิทยา 3(3-0-6)
0130300207 กฎหมาย จริยศาสตร์และจรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาล 2(2-0-4)
0130300208 มโนมติ ทฤษฎี และกระบวนการพยาบาล 2(1-2-3)
0110300209 การพยาบาลขั้นพื้นฐาน 3(2-2-5)
0130300210 การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 1 3(2-2-5)
0130300211 การพยาบาลผู้สูงอายุ 2(1-2-3)
0130300212 การพยาบาลเด็กและวัยรุ่น 3(2-2-5)
0130300313 การพยาบาลสุขภาพชุมชน 2(1-2-3)
0130300314 การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 2 2(1-2-3)
0130300315 วิจัยและนวัตกรรมทางการพยาบาล 3(1-4-4)
0130300316 การพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ 1 3(2-2-5)
0130300317 การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช 3(2-2-5)
0130300418 การพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ 2 3(3-0-6)
0130300419 การพยาบาลและการบริหารจัดการสุขภาวะชุมชน 2(1-2-3)
0130300420 การรักษาโรคเบื้องต้นสำหรับพยาบาล 2(1-2-3)
0130300421 การบริหารและการจัดการคุณภาพทางการพยาบาล 2(1-2-3)
0130300222 ปฏิบัติการพยาบาลขั้นพื้นฐาน 4(0-12-4)
0130300223 ปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 1 3(0-9-3)
0130300224 ปฏิบัติการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น 1 2(0-6-2)
0130300325 ปฏิบัติการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น 2 2(0-6-2)
0130300326 ปฏิบัติการพยาบาลสุขภาพชุมชน 3(0-9-3)
0130300327 ปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 2 3(0-9-3)
0130300328 ปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุ 2(0-6-2)
0130300329 ปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 1 3(0-9-3)
0130300330 ปฏิบัติการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช 3(0-9-3)
0130300431 ปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 2 3(0-9-3)
0130300432 ปฏิบัติการพยาบาลและการบริหารจัดการสุขภาวะชุมชน 3(0-9-3)
0130300433 ปฏิบัติการรักษาโรคเบื้องต้นสำหรับพยาบาล 3(0-9-3)
0130300434 ปฏิบัติการบริหารและการจัดการคุณภาพทางการพยาบาล 2(0-6-2)
3. หมวดวิชาเลือกเสรี , จำนวน 6 หน่วยกิต
รหัสวิชา รายวิชา หน่วยกิต
0130300035 การพัฒนาบุคลิกภาพและวุฒิภาวะทางอารมณ์ 2(2-0-4)
0130300036 พืชสมุนไพร 2(2-0-4)
0130300037 ภูมิปัญญาไทยกับการดูแลสุขภาพ 2(2-0-4)
0130300038 การศึกษาอิสระ 2(0-4-2)
0130300039 การออกกำลังกายเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ 2(1-2-3)
0130300040 ภาษาจีนในชีวิตประจำวัน 2(1-2-3)
0130300041 ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในวิถีชีวิตใหม่ 2(2-0-4)
0130300042 พลวัตในกลุ่มและการทำงานเป็นทีม 2(1-2-3)
0130300043 สุนทรียศาสตร์ 2(2-0-4)